วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553









ท่าเชื่อม (welding position)
ในงานเชื่อมไม่ว่าจะเป็นเชื่อมแก็ส หรือเชื่อมไฟฟ้า ท่าเชื่อมที่สามารถทำการเชื่อมได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือ การเชื่อมท่า แต่สภาวะจริงในการปฏิบัติงานไม่สามารถเลือกท่าที่ถนัดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของงานที่ทำอยู่







เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า

1.ท่าราบ
2.ต่อชนท่าขนานนอน
3.ต่อชนท่าตั้ง
4.ต่อชนท่าเหนือศีรษะ
5.ต่อตัวที่ท่าขนานนอน
6.ต่อตัวทีท่าตั้ง
7.ต่อตัวทีท่าเหนือศีรษะ




เครื่องมือและอุปกรณ์

1.เครื่องเชื่อมไฟฟ้า AC หรือ DC

2.หัวจับลวดเชื่อม

3.สายเชื่อมพร้อม
-หัวจับสายดิน

4. เครื่องมือทำความสะอาด
- ค้อนเคาะสแลก และแปรงลวดทำความสะอาด
- คีมจับงานร้อน

5. อุปกรณ์ป้องกันอันตราย
- หน้ากากเชื่อมไฟฟ้า
- ถุงมือหนัง
- เสื้อหนัง
- รองเท้าส่วนปลายหัวเป็นโลหะ


การเชื่อมต่อชนท่าราบ
การเชื่อมท่าราบเป็นการเชื่อมที่สามารถควบคุมการเชื่อมได้ง่าย การเชื่อมท่าราบนั้น ลวดเชื่อมทำมุมกับงาน (มุมเดิน) ประมาณ 67-75 องศา และทำมุมกับชิ้นงานด้านข้าง (มุมงาน) 90 องศา ทำการเชื่อมทางซ้ายมือไปขวามือ

การเชื่อมต่อชนท่าขนานนอน สำหรับผู้ฝึกเชื่อมใหม่ ๆ เนื่องจากน้ำโลหะจะไหลย้อนลงมาอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรงเท่าที่ควร แต่ก็สามารถเชื่อมได้ดี ถ้ามีการฝึกเชื่อมจนกระทั่งชำนาญ การหลอมละลายลึกสามารถควบคุมได้ด้วยระยะอาร์ก และมุมในการเชื่อม

การเชื่อมต่อชนท่าตั้ง
เทคนิควิธีการที่จะทำให้น้ำโลหะไหลย้อยน้อยก็คือ เมื่อเคลื่อนที่ส่ายลวดเชื่อม ควรหยุดบริเวณขอบของรอยต่อชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมตรงกลางแข็งตัว และลดการย้อยของน้ำโลหะได้

การเชื่อมต่อชนท่าเหนือศีรษะ
การเชื่อมท่าเหนือศีรษะนี้ ผู้เชื่อมต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเป็นอย่างดี มุมเดิน
และมุมงานของลวดเชื่อมที่กระทำกับงาน เหมือนกับการเชื่อมท่าราบ แต่เพียงเชื่อมงานในลักษณะคว่ำลงเท่านั้น

การเชื่อมต่อตัวทีท่าขนานนอน
การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมทำมุมกับงานขณะเดิน (มุมเดิน) ประมาณ 67-70 องศา และมีงาน ประมาณ 40-50 องศา กับชิ้นงาน

6.การเชื่อมต่อตัวทีท่าตั้ง
- การเชื่อมแนวแรก ลวดเชื่อมมีมุมเดินประมาณ 70-80 องศา มีมุมงานประมาณ 45 องศา
-เพื่อไม่ให้น้ำโลหะไหลย้อนมากขณะเคลื่อนส่าย ควรหยุดบริเวณขอบของแนวเชื่อมชั่วขณะหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมบริเวณตรงกลางและที่ขอบอีข้างหนึ่งเย็นตัวลง

7.การเชื่อมต่อตัวทีท่าเหนือศีรษะ การเชื่อมต่อตัวทีและการเชื่อมต่อมุมภายใน ท่าเชื่อมเหนือศีรษะ ลวดเชื่อมจะทำมุมกับงานมีมุมเดิน 85 องศา มีมุมงานประมาณ 40-45 องศา

8.การเชื่อมต่อมุมภายนอกท่าขนานนอน
ลวดเชื่อมทำมุมกับชิ้นงานโดยมีมุมเดินประมาณ 65-75 องศา มีมุมงาน 130-140

สรุป เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า
เรื่อง การเชื่อมไฟฟ้า
ประกอบไปด้วยลักษณะของท่าเชื่อมต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของวิชางานเชื่อมเบื้องต้น เพราะสื่อการสอนนี้จะสามารถทำให้ตัวนักศึกษาเอง เข้าใจหลักและวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปปฏิบัติให้เป็นองค์ความรู้ที่เป็นจริง อย่างมีประสิทธิภาพ






จัดทำโดย
นายพัฒนชัย ปะกาเว รหัส 019 สาขาวิชา คอบ.วิศวกรรมอุตสาหการ